อย่างที่ทราบกันดีว่า Power Bank ถือเป็นแก็ดเจ็ตเสริมชิ้นนึงที่ผู้ใช้งานมักพบเจอกับปัญหาจุกจิกระหว่างการใช้งานได้บ่อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับอาการเสีย หรือการสังเกตเห็นถึงความผิดปกติต่าง ๆ หลังจากใช้งานไปได้สักระยะ ซึ่งบ่อยครั้งก็เป็นอาการทั่วไปที่เกิดขึ้นได้กับตัวแก็ดเจ็ตหลังจากผ่านการใช้งานครั้งแรกแล้ว และไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการใช้งานแต่อย่างใด แต่ก็มีไม่น้อยเช่นกันที่เป็นอาการเสียหายที่ส่งผลต่อการใช้งานโดยตรง และอาจก่อให้เกิดอันตรายต่าง ๆ ตามมาได้ ในบทความนี้จึงจะชวนผู้ใช้งานมาเช็คลิสต์อาการเสีย ความผิดปกติต่าง ๆ ที่ผู้ใช้งานอาจสังเกตเห็นได้หลังจากใช้งาน Power Bank จากแบรนด์ใด ๆ หรือแม้กระทั่ง Premium Power Bank ไปสักระยะว่าอาการแบบไหนบ้างที่นับเป็นอาการชำรุด เสียหายจริง ๆ และอาการแบบไหนบ้างที่เป็นอาการทั่วไปที่สามารถเกิดขึ้นได้กับ Power Bank ทุกแบรนด์ และไม่มีนัยใด ๆ ต่อความปลอดภัยในการใช้งาน
ความสามารถในการเก็บแบตฯลดลง อาการนึงที่ถือเป็นอาการทั่วไป ซึ่งเกิดขึ้นได้กับ Power Bank ทุกตัว ก็คือความสามารถในการกักเก็บแบตเตอรี่ที่ลดลงไปนั่นเอง ทั้งนี้โดยทั่วไปแล้วความสามารถในการกักเก็บแบตเตอรี่ไว้ในตัว Power Bank จะค่อย ๆ ลดลงไปหลังจากที่มีการเริ่มใช้งานพาวเวอร์แบงค์ตัวนั้น ๆ เป็นครั้งแรกแล้ว หรืออธิบายให้เข้าใจได้ง่าย ๆ ว่าพาวเวอร์แบงค์ที่เราใช้งานอยู่นั้น เมื่อผ่านการใช้งานไปสักระยะแล้วมันจะไม่สามารถเก็บไฟไว้กับตัวได้นานเหมือนครั้งแรก ๆ ที่เรานำมาเสียบชาร์จนั่นเอง ดังนั้นผู้ใช้งานจึงอาจสังเกตเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้เป็นปกติหลังจากใช้งาน Power Bank ไปสักระยะ
ชาร์จไฟได้ไม่เต็มความจุ อีกหนึ่งอาการยอดฮิตที่พบได้บ่อยในการใช้งาน Power Bank จากแบรนด์ต่างๆ ก็คือ การชาร์จไฟได้ไม่เต็มความจุนั่นเอง ทั้งนี้อาการดังกล่าวนี้มักเกิดขึ้นหลังจากผ่านการใช้งานไปสักระยะแล้ว และนับเป็นอาการที่อธิบายได้ยากว่าจัดเป็นอาการชำรุดเสียหายของพาวเวอร์แบงค์ตัวนั้น ๆ หรือไม่ เพราะ พาวเวอร์แบงค์หลายตัวที่เจอกับอาการดังกล่าวยังคงสามารถใช้งานชาร์จไฟให้กับอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้ปกติ และไม่มีความผิดปกติอื่นใดเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการกักเก็บไฟ ความร้อน หรือกระทั่งประสิทธิภาพในการจ่ายไฟ ดังนั้นในการประเมินอาการเบื้องต้น ผู้ใช้งานจึงควรพิจารณาอาการผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น หาก Power Bank มีความร้อนสูงขึ้นด้วย มีอาการบวมด้วย ก็ควรหลีกเลี่ยงการใช้งาน Power Bank ตัวนั้น ๆ
ระยะเวลาในการชาร์จเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ระยะเวลาในการชาร์จ กับอาการเสื่อมของ Power Bank ถือว่าเป็นสองปัจจัยที่เกี่ยวข้องกันโดยตรง เวลาในการรอชาร์จจึงนับว่าเป็นอีกหนึ่งจุดสังเกตที่ผู้ใช้งานสามารถใช้พิจารณาได้ว่าพาวเวอร์แบงค์ที่เราใช้งานอยู่ยังจะสามารถใช้ต่อไปได้อย่างปลอดภัยหรือไม่ โดยหากระยะเวลาในการรอชาร์จเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วก็สามารถสันนิษฐานในเบื้องต้นได้ว่าพาวเวอร์แบงค์ตัวนั้น ๆ มีอาการเสื่อมจนสิ้นสุดอายุการใช้งานแล้ว ตัวอย่างเช่น การชาร์จพาเวอร์แบงค์ครั้งแรก ๆ อาจใช้ระยะเวลา 1 ชั่วโมงในการรอชาร์จไฟเข้าเต็มความจุหนึ่งรอบ ทว่าหลังจากใช้งานไปสักระยะ กลับใช้เวลาเพียง 15-20 นาทีในการชาร์จไฟเต็มรอบความจุของพาวเวอร์แบงค์ แบบนี้ถือว่าพาวเวอร์แบงค์ตัวนั้น ๆ มีอาการเสื่อมจนไม่ควรใช้งานต่อไปแล้วนั่นเอง อย่างไรก็ตามนอกเหนือจากอาการเสื่อมแล้ว ระยะเวลาในการรอชาร์จอาจขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น ๆ ได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น กำลังการจ่ายไฟของสายชาร์จ หรือสายชาร์จ USB ที่ใช้ กำลังการจ่ายไฟของอะแดปเตอร์ หรือหัวชาร์จที่เรานำมาต่อชาร์จ เป็นต้น ดังนั้นการประเมินอาการเสื่อมของ Power Bank จึงควรต้องตรวจเช็คให้แน่ใจด้วยว่าระยะเวลาในการรอชาร์จไม่ได้เปลี่ยนไปเพราะปัจจัยอื่น ๆ ทั้งนึ้ควรเลือกใช้ Power bank ที่ดีมีคุณภาพ เป็นที่รู้จักอย่างเช่น Power Bank Eloop