อย่างที่ทราบกันดีว่าปัจจุบันแก็ดเจ็ตอย่าง Power Bank ได้เข้ามาช่วยเพิ่มความสะดวกในการใช้งานอุปกรณ์ไอทีเช่น สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต แล็ปท็อป ให้ผู้ใช้งานหลายคนสามารถใช้งานอุปกรณ์ของตนเองได้อย่างต่อเนื่อง ลื่นไหลมากขึ้นในหลาย ๆ สถานการณ์ โดยไม่ต้องพึ่งพาเต้าเสียบไฟภายในอาคาร ห้างร้านต่าง ๆ เพื่อต่อชาร์จไฟให้กับอุปกรณ์ ทำให้ผู้ใช้งานหลายคนเลือกซื้อเลือกหา Power Bank มาพกพาติดตัวไว้ใช้งานเป็นไอเทมประจำตัวชิ้นนึง บ้างก็ใช้งานเป็นอุปกรณ์ชาร์จหลักแทนการชาร์จด้วยหัวชาร์จ หรืออะแดปเตอร์ชาร์จปกติของอุปกรณ์ไปเลยเพียงแค่มีสายชาร์จ USB กับ Power Bank ก็พอแล้ว หรือบางแบรนด์ก็ไม่ต้องพึ่งสายชาร์จusb เพราะว่าในปัจจุบันนี้มีการผลิต Power Bank ไร้สาย ขึ้นมาอย่างเช่นแบรนด์ Power Bank Eloop เรียกว่าสะดวกสุด ๆ อย่างไรก็ตามแม้ว่าโดยผิวเผินแล้วการชาร์จแบตเตอรี่ให้กับอุปกรณ์สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต ฯลฯ ด้วย Power Bank ดูจะค่อนข้างสะดวกสำหรับผู้ใช้งานหลายคน แต่ทว่าในความเป็นจริงแล้วการใช้ Power Bank ชาร์จแบตเตอรี่ให้กับอุปกรณ์ต่าง ๆ นั้นก็มีข้อเสียอยู่หลายประการเช่นกันเมื่อเทียบกับการชาร์จด้วยอะแดปเตอร์ชาร์จปกติทั่วไป หรือว่ากันง่ายๆก็คือ พาวเวอร์แบงค์ยังไม่ใช่อุปกรณ์ชาร์จที่สามารถทดแทนอะแดปเตอร์ชาร์จได้ 100% นั่นเอง ซึ่งในบทความนี้ก็ได้นำเอา 5 ข้อเสียของการใช้ Power Bank ชาร์จไฟให้กับอุปกรณ์ไอทีต่าง ๆ ที่ผู้ใช้งานควรทราบมาบอกกล่าวกัน
ความเร็วในการชาร์จ แม้ว่าปัจจุบันเราจะได้เห็น Power Bank ที่มาพร้อมสเปคการชาร์จด้วยความเร็วสูงในจำนวนวัตต์มาก ๆ เช่น 35W, 65W, 90W จากแบรนด์ผู้ผลิตแก็ดเจ็ตหลายเจ้าออกมาวางจำหน่ายอยู่ทั่วไป ซึ่งอาจทำให้ผู้ใช้งานหลายคนเข้าใจว่าความเร็วในการชาร์จด้วยพาวเวอร์แบงค์ในปัจจุบันไม่แตกต่างไปจากการชาร์จด้วยอะแดปเตอร์ หรือหัวชาร์จปกติของอุปกรณ์ แต่ทว่าความจริงแล้ว ความเร็วจากตัวเลขกำลังวัตต์ในฉลากของพาวเวอร์แบงค์รุ่นต่าง ๆ นั้นอาจจะยังนำมาเปรียบเทียบกับตัวเลขกำลังวัตต์ของอะแดปเตอร์ชาร์จรุ่นต่าง ๆ แบบตรง ๆ ไม่ได้ซะทีเดียว เนื่องจากความเร็ว หรือกำลังวัตต์จากหัวอะแดปเตอร์ที่รับกระแสไฟมาจากเต้าเสียบโดยตรงนั้นมีความเสถียรกว่า และมีการเมเนจพลังงานได้ดีกว่า การชาร์จด้วยอะแดปเตอร์จึงมีแนวโน้มที่จะทำความเร็วได้ใกล้เคียงกับตัวเลขกำลังวัตต์ที่แสดงในฉลากมากกว่านั่นเอง
อาการเสื่อมตามอายุการใช้งาน ขอเสียต่อมาของ Power Bank ที่เรียกได้ว่าเป็นข้อเสียที่ชัดเจนมากที่สุดเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับหัวชาร์จปกติก็คือาการเสื่อมนั่นเอง ซึ่ง Power Bank นั้นเปรียบเสมือนแบตเตอรี่ก้อนนึง ที่ย่อมมีอาการเสื่อมไปทีละนิด และมีประสิทธิภาพในการเก็บรักษาแบตฯไว้กับตัวลดลงเรื่อย ๆ เมื่อผ่านการใช้งานไปสักระยะ ขณะที่อะแดปเตอร์ชาร์จนั้นเป็นเพียงอุปกรณ์แปลงสัญญาณและกระแสไฟให้พอดีกับอุปกรณ์รับ จึงไม่มีปัญหาอาการเสื่อมของตัวแบตเตอรี่แต่อย่างใด
ชาร์จแบตฯได้ไม่เต็มปริมาณความจุที่มี อีกหนึ่งข้อจำกัดที่อาจเรียกได้ว่าเป็นเสียของการใช้งาน Power Bank สำหรับชาร์จแบตฯให้กับอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่นกัน ก็คือ ตัวพาวเวอร์แบงค์จะไม่สามารถส่งต่อปริมาณไฟ หรือชาร์จไฟให้กับอุปกรณ์ที่เราทำการต่อชาร์จได้เต็ม 100% ของปริมาณไฟที่พาวเวอร์แบงค์มีอยู่ เพราะดังที่กล่าวข้างต้นว่าพาวเวอร์แบงค์ก็เปรียบเสมือนแบตเตอรี่ก้อนนึง ซึ่งย่อมมีการคลายประจุไฟออกจากตัวเองเรื่อย ๆ ดังนั้นแม้ว่าเราจะชาร์จไฟเก็บไว้ที่ตัวพาวเวอร์แบงค์เต็มความจุแล้ว แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะสามารถส่งต่อ หรือชาร์จให้กับอุปกรณ์อื่น ๆ ได้เต็มจำนวนไฟที่มีนั่นเอง
ความเสถียรของระบบรับ-จ่ายไฟ หากจะเปรียบเทียบระบบการรับจ่ายไฟของ Power Bank และอะแดปเตอร์ชาร์จแบบเข้าใจง่าย ก็สามารถอธิบายได้ว่าระบบการชาร์จด้วยอะแดปเตอร์นั้นเป็นระบบเดียว คือทำหน้าที่แปลงกระแสไฟจากเต้าเสียบและส่งต่อไปยังตัวรับ หรืออุปกรณ์สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต ขณะที่ Power Bank จะเป็นระบบสองขั้นตอนคือมีการรับกระแสไฟมาจากเต้าเสียบ และส่งต่อไปยังแบตเตอรี่ในตัวเพื่อกักเก็บไฟไว้ และเมื่อจะทำการชาร์จไฟให้กับอุปกรณ์อื่น ก็ต้องดึงเอาไฟจากแบตเตอรี่ในตัวออกมา และทำการแปลงกระแสไฟก่อนจะส่งต่อไปยังอุปกรณ์รับอีกที ความเสถียร หรือความมั่นคงในการส่งต่อกระแสไฟของอะแดปเตอร์ชาร์จจึงดีกว่าพาวเวอร์แบงค์นั่นเอง
Power Bank ไม่สามารถวางเก็บไว้โดยไม่ใช้งานเป็นเวลานาน ๆ ได้ อีกหนึ่งข้อเสียของ Power Bank ที่ผู้ใช้งานหลายคนอาจจะพอทราบอยู่บ้างแล้วก็คือ การเก็บรักษาไว้โดยไม่ได้ใช้งานนั่นเอง ซึ่งพาวเวอร์แบงค์ถือเป็นอุปกรณ์ชาร์จที่ไม่สามารถเก็บรักษาไว้โดยไม่ได้ใช้งานเป็นระยะเวลานานได้ เพราะอาจทำให้ความสามารถในการเก็บรักษาแบตเตอรี่สูญเสียไปเลย เนื่องจากการใช้งาน หรือถ่ายเทแบตเตอรี่ไปมาหลังจากเริ่มใช้งานเป็นครั้งแรกอย่างสม่ำเสมอนั้น เป็นวิธีถนอมรักษาอายุแบตเตอรี่ไปในตัวด้วย ซึ่งหากไม่มีการถ่ายเทกระแสไฟไปมาเลย แบตเตอรี่ที่อยู่ในตัวพาวเวอร์แบงค์ก็จะทำได้เพียงคลายประจุไฟออกมาทั้งหมด และสูญเสียความสามารถในการกักเก็บไฟไปอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ควรเลือกใช้ Premium Power Bank เพื่อการใช้งานที่ยาวนาน และมีประสิทธิภาพ