ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าในปัจจุบัน Power bank ถือเป็นอีกหนึ่งไอเทมสามัญที่หลายคนพกติดตัวเพื่อเติมเต็มไลฟ์สไตล์แบบดิจิทัลของตนเองให้มีความลื่นไหลในการใช้งานอุปกรณ์ไอทีต่างๆ ได้อย่างต่อเนื่องตลอดทั้งวัน ซึ่ง power bank ที่มีวางจำหน่ายกันทั่วไปในปัจจุบันก็มีให้ได้เลือกหาหลายแบบหลายสเปคตามแต่ความต้องการของแต่ละคน เช่น Power bank eloop เป็นแบรนด์พาวเวอร์แบงค์ที่ค่อนข้างน่าสนใจ ปลอดภัย เชื่อถือได้ เป็น Premium Power Bank ที่คนนิยมใช้กัน อย่างไรก็ตามแม้โดยทั่วไปแล้วหลายคนมักให้ความสำคัญในขั้นตอนการเลือกหาเลือกซื้อพาวเวอร์แบงค์ให้ได้สเปคตามความต้องการ หรือตอบโจทย์ความต้องการมากที่สุด แต่ที่จริงแล้วการจะใช้งาน Power bank เพื่อเป็นตัวช่วยให้การใช้งานอุปกรณ์ไอที เช่น สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต ในแต่ละวันมีความโฟล หรือลื่นไหลได้มากขึ้น นอกจากการเลือกหาสินค้าที่มีสเปคตรงตามต้องการแล้ว การใช้งานอย่างถูกวิธีก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญ เพราะพาวเวอร์แบงค์เองก็เช่นเดียวกับแก็ดเจ็ตไอทีอื่นๆ ซึ่งหากใช้งานไม่ถูกวิธีก็อาจเสื่อม หรือชำรุด เสียหายได้ง่าย บทความนี้เราจึงได้นำเอาข้อควรระวังต่างๆ ในการใช้งานแก็ดเจ็ตชิ้นนี้ เพื่อที่จะถนอมอายุการใช้งานให้ได้นานที่สุดมาฝากกัน
หลีกเลี่ยงความร้อนและความชื้น เรียกได้ว่าเป็นข้อควรระมัดระวังพื้นฐานสำหรับอุปกรณ์ไอที โดยเฉพาะอุปกรณ์ที่มีลักษณะการใช้งานเกี่ยวข้องกับการใช้กระแสไฟโดยตรงอยู่แล้วสำหรับเรื่องของความร้อนและความชื้น ทว่าหลายคนมักหลงลืม หรือมองข้ามไปจนทำให้อุปกรณ์เกิดความเสียหาย หรือเสื่อมประสิทธิภาพก่อนเวลาที่ควรจะเป็น ในการใช้งาน Power bank ซึ่งเป็นหนึ่งในอุปกรณ์ชาร์จไฟสำหรับสมาร์ทโฟน แท็บเล็ตจึงควรระมัดระวังไม่ให้ตัวพาวเวอร์แบงค์ได้รับความร้อน หรือความชื้นมากเกินไป ตัวอย่างกรณีที่อาจทำให้ตัว power bank ได้รับความร้อน หรือความชื้นมากเกินโดยไม่ตั้งใจ เช่น การเผลอวางไว้ในบริเวณที่แสงแดดส่องเข้ามาโดนอุปกรณ์โดยตรง การวางไว้บริเวณระเบียงที่ฝนอาจสาดถึง เป็นต้น การนำอุปกรณ์ชาร์จไฟไปเสียบใช้งานหลังได้รับความร้อน หรือความชื้นมากกว่าปกตินั้นนอกจากจะทำให้ตัวอุปกรณ์ หรือพาวเวอร์แบงค์เสื่อมเร็วขึ้นแล้ว ยังอาจเกิดอันตรายถึงขั้นกระแสไฟฟ้าลัดวงจรได้เลยทีเดียว
ไม่ใช้งานอุปกรณ์ขณะเสียบชาร์จไปด้วย ในการชาร์จไฟอุปกรณ์สมาร์ทโฟน แท็บเล็ตด้วยอะแดปเตอร์และสายชาร์จที่แถมมากับตัวเครื่องเรามักจะคุ้นเคยกับคำแนะนำที่มาพร้อมกับคู่มือดีอยู่แล้วว่าไม่ควรใช้งานอุปกรณ์ไปด้วย หรือว่ากันง่ายๆก็คือควรเสียบชาร์จและวางอุปกรณ์ไว้เฉยๆ จนกว่าการชาร์จจะเสร็จสิ้นจึงหยิบจับอุปกรณ์มาใช้งานได้อีกครั้ง ซึ่งในการชาร์จไฟด้วย Power bank ก็ต้องบอกว่าไม่แตกต่างกัน เพราะกระแสไฟจาก Power bank ที่ไหลเข้าตัวอุปกรณ์(สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต) ก็ทำให้อุปกรณ์มีความร้อนเพิ่มสูงขึ้นกว่าปกติ อีกทั้งระหว่างการใช้งานพลังงาน หรือแบตเตอรี่ในอุปกรณ์ก็ถูกเผาผลาญออกไปเรื่อยๆ ด้วย ทำให้ power bank ต้องพยายามเร่งจ่ายไฟเข้าไปทดแทนให้มากขึ้น จึงมีโอกาสที่ประสิทธิภาพการใช้งานจะเสื่อมถอยเร็วขึ้นด้วย
นำ power bank มาเสียบชาร์จเป็นระยะๆ เมื่อไม่ได้ใช้งานนาน เป็นที่ทราบกันดีว่าหลักการทำงานพื้นฐานของพาวเวอร์แบงค์ก็คือการนำพลังงาน หรือตัวกระแสไฟเข้ามาเก็บไว้ในตัวเองก่อน(เก็บได้ตามปริมาณความจุของแต่ละรุ่น) จากนั้นจึงส่งต่อกระแสไฟไปให้กับอุปกรณ์อื่นอีกทีเมื่อมีการต่อสายชาร์จเข้ากับอุปกรณ์นั้นๆ อย่างไรก็ตามแม้ว่าด้วยสถาปัตยกรรมของตัว Power bank จะสามารถกักเก็บไฟไว้ในตัวเองได้ แต่ในการใช้งานจริงตัวอุปกรณ์จะมีการระบายกระแสไฟออกไปเรื่อยๆ เมื่อไม่มีการส่งต่อไปให้อุปกรณ์อื่นๆ ดังนั้นหากไม่มีการนำพาวเวอร์แบงค์ไปเสียบใช้งานนานๆ ปริมาณไฟ หรือพลังงานที่มีอยู่ก็จะถูกระบายออกไปเองจนหมด ซึ่งการที่พลังงานถูกระบายออกไปในลักษณะนี้ ไม่ใช่การถูกระบายออกด้วยการเสียบชาร์จให้อุปกรณ์อื่นจะเป็นการเร่งให้ความสามารถในการกักเก็บพลังงานของตัวพาวเวอร์แบงค์ลดลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้นหากไม่ได้มีการใช้งานเป็นเวลานาน จึงควรมีการหยิบจับมาเสียบใช้งานบ้างเป็นระยะๆ เพื่อถนอมไว้ซึ่งความสามารถในการกักเก็บพลังงานของตัว Power bank