ในการใช้งานแก็ดเจ็ตชาร์จไฟสำรองอย่าง Power Bank หลายคนน่าจะพอทราบกันดีว่าโดยทั่วไปแล้วเรามักนิยมใช้งานเพื่อชาร์จอุปกรณ์ขนาดเล็กอย่างสมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ต เนื่องด้วยความเหมาะสมของขนาดความจุแบตเตอรี่ หรือพูดกันง่ายๆ ก็คือ Power Bank ที่มีวางจำหน่ายทั่วไปจากแบรนด์ต่างๆ หรือนำมาใช้เป็นของพรีเมี่ยม ทำเป็น Gift Set เช่น Power Bank Eloop มักจะมีความจุที่สามารถชาร์จไฟให้กับสมาร์ทโฟนได้ประมาณ 1-2 รอบ และเพียงพอสำหรับการชาร์จแท็บเล็ตขนาดมาตรฐานทั่วไปได้ 1 รอบพอดี ขณะที่การชาร์จให้กับอุปกรณ์ขนาดใหญ่เช่น แล็ปท็อป หรือโน๊ตบุ๊คนั้นแน่นอนว่าย่อมมีข้อจำกัดเรื่องของขนาดความจุแบตเตอรี่ที่ใหญ่เกินกว่าจะชาร์จได้เต็มรอบ รวมถึงพอร์ตในการเสียบชาร์จ ซึ่ง Power Bank จากแบรนด์ต่างๆในช่วงหลายปีที่ผ่านมามักทำพอร์ตเสียบชาร์จสำหรับอุปกรณ์อย่างสมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ตโดยเฉพาะ เช่น พอร์ต USB-B, พอร์ต Lightning อย่างไรก็ตามเป็นที่ทราบกันดีว่าปัจจุบันมีพอร์ตชาร์จมาตรฐานใหม่อย่าง USB-C ที่กำลังเข้ามาแทนที่พอร์ตชาร์จเจเนอเรชั่นเดิมๆ และถูกเลือกใช้งานทั้งในสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต และแล็ปท็อปรุ่นใหม่ๆเหมือนกัน การปรับใช้งานแก็ดเจ็ต Power Bank เพื่อนำมาใช้ชาร์จโน๊ตบุ๊ค หรือแล็ปท็อปจึงเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อยๆ และแน่นอนว่าพอร์ต Type-C นี้ได้เข้ามาแก้ปัญหาเรื่องข้อจำกัดในการเสียบชาร์จให้อุปกรณ์ได้เป็นอย่างดี แต่ทั้งนั้นทั้งนี้การใช้งาน Power Bank สำหรับชาร์จไฟให้กับแล็ปท็อปก็ยังมีปัญหาจุกจิกหลายประการที่พบได้บ่อย ซึ่งในบทความนี้ก็ได้รวบรวมมาแนะนำบอกกล่าวให้ได้ทราบเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจในการเลือกซื้อเลือกหามาใช้งานกัน
ขนาดความจุแบตเตอรี่ แม้ว่าพอร์ต USB-C จะช่วยให้การใช้งาน Power Bank สำหรับเสียบชาร์จโน๊ตบุ๊คสะดวกขึ้นดังกล่าว เรียกว่าเป็นการทำลายข้อจำกัดเรื่องพอร์ตของอุปกรณ์ต่างแพลตฟอร์มไปได้ แต่ข้อจำกัดพื้นฐานอย่างนึงที่ไม่ได้เลือนหายตามไปก็คือขนาดความจุแบตเตอรี่ ซึ่งแม้ว่า Power Bank จากแบรนด์ต่างๆ จะมีการอัพระดับความจุขึ้นตามยุคสมัยเช่นกัน โดยปัจจุบันสามารถมองหาพาวเวอร์แบงค์ระดับความจุ 10,000 – 15,000 มิลลิแอมป์ ในราคาหลักร้อยได้ทั่วไป ซึ่งถือเป็นสเปคที่หาซื้อได้ยากในช่วง 4-5 ปีก่อน แต่ขณะเดียวกันสเกลการใช้พลังงานของอุปกรณ์ต่างๆ ในปัจจุบันก็ขยายขึ้นตามไปด้วย กล่าวสรุปง่ายๆ ได้ว่าความต้องการใช้งานแบตเตอรี่ของสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต และแล็ปท็อปต่างก็สูงขึ้นเป็นเงาตามตัวด้วยนั่นเอง ปัญหาที่หลายคนพบในการนำเอา Power Bank ระดับความจุ 10,000 – 20,000 มิลลิแอมป์มาใช้งานชาร์จแล็ปท็อปจึงเป็นการที่ไม่สามารถชาร์จแบตได้ในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการใช้งานในแต่ละวัน ไม่สามารถชาร์จได้เต็มรอบการชาร์จนั่นเอง ดังนั้นในการเลือกซื้อเลือกหาพาวเวอร์แบงค์สำหรับใช้งานชาร์จแล็ปท็อป หรือโน๊ตบุ๊คในปัจจุบันจึงควรที่จะมองหาขนาดความจุขั้นต่ำตั้งแต่ 30,000 มิลลิแอมป์ขึ้นไป
ขนาด น้ำหนัก และราคา ดังที่กล่าวมาข้างต้นว่าปัญหาพื้นฐานในการใช้งาน Power Bank สำหรับชาร์จอุปกรณ์ขนาดใหญ่อย่างแล็ปท็อปก็คือ ขนาดความจุแบตเตอรี่โดยทั่วไปที่ไม่แมตช์กับการใช้งาน ซึ่งแม้ว่าปัจจุบันแบรนด์ผู้ผลิตแก็ดเจ็ตหลายแบรนด์จะพยายามพัฒนา Power Bank ที่มีปริมาณความจุสูงขึ้นเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้งานที่ต้องการพกพาไว้ใช้งานชาร์จแล็ปท็อป ถึงขนาดมีสินค้ารุ่นความจุ 100,000 มิลลิแอมป์ ออกมาวางจำหน่ายให้ได้เห็นกันแล้ว แต่นั่นก็ตามมาด้วยปัญหาเรื่องราคาที่สูง เรียกว่ายากต่อการตัดสินใจซื้อสำหรับผู้ใช้งานหลายคน ทั้งยังตามมาด้วยปัญหาเรื่องขนาด และน้ำหนักที่ดูจะใหญ่ และหนักเกินกว่าจะพกพา สรุปได้ว่าหากต้องการพาวเวอร์แบงค์ที่มีความจุแบตฯสูงในระดับที่สามารถชาร์จโน๊ตบุ๊คได้เต็มรอบการชาร์จ 2-3 รอบ ก็ต้องยอมรับเรื่องขนาดและน้ำหนักที่อาจไม่สะดวกต่อการพกพาเท่าไหร่ด้วยนั่นเอง
Related posts
Leave Comment