นอกจากสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ตที่เราใช้งานแล้ว อุปกรณ์สำคัญอีกอย่างที่หลายคนพกติดตัวกันอยู่เสมอและขาดไปไม่ได้เลย ก็ดูเหมือนจะเป็นแบตสำรองหรือ Power Bank นั่นเอง Power Bank เรียกได้ว่าเป็นแหล่งพลังงานสำรองที่ใครหลายคนจำเป็นจำเป็นจะต้องมี เป็นอุปกรณ์สำคัญที่พกพาไปไหนมาไหนได้สะดวกสบาย เพราะมีรูปร่างและรูปทรงให้เลือกได้หลากหลาย มีทั้งขนาดเล็กใหญ่แล้วแต่ใครจะสะดวกพกพาแบบไหน เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญชิ้นหนึ่งในปัจจุบันเลย
การเลือกซื้อ Power Bank นั้นอยู่ด้วยกันมากมายหลากหลายราคา แต่ละราคาก็จะมีสเปคที่แตกต่างกันออกไป แต่การเลือกซื้อ Premium Power Bank จะช่วยให้มีประสิทธิภาพที่ดีเพิ่มมากขึ้น หนึ่งในปัจจัยที่คนเลือกซื้ออุปกรณ์ Power Bank นั้น คือเรื่องของความจุของแบตเตอรี่แบตเตอรี่ คำถามคืออุปกรณ์ของเราควรมีแบตเตอรี่มากน้อยขนาดไหน แต่ละอุปกรณ์ความจุแบตเตอรี่เท่าไหร่ และเราจะเลือกซื้อ Power Bank ของเราอย่างไร ให้คุ้มค่ากับเงินที่เราเสียไป และพอใช้ตลอดทั้งวัน ไม่ขาดหรือเกินไปจากนี้
ขนาดความจุของแบตเตอรี่มือถือ
ก่อนที่เราจะไปดูว่าเราควรที่จะเลือกซื้อ Power Bank ที่มีความจุแบตเตอรี่เท่าไหร่ หรือเราจะสามารถชาร์จไฟในมือถือของเราได้กี่ครั้งนั้น การคำนวณเบื้องต้นนี้ไม่ใช่อะไรที่ยากเย็น เราไปดูความจุของแบตเตอรี่สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต รวมถึงอุปกรณ์อื่นที่เราจะนำมาใช้กันก่อน ซึ่งสามารถที่จะตรวจสอบได้อย่างง่ายดายทั้งในอินเทอร์เน็ต หรือในคู่มือที่แถมมาให้
ความรู้เกี่ยวกับระบบไฟฟ้า
ก่อนเราจะรู้ว่า Power Bank ของเราชาร์จไฟได้มากน้อยเท่าไหร่ เราไปรู้เรื่องของระบบไฟฟ้ากันก่อน โดยมี 3 สิ่งที่เราจะต้องรู้พื้นฐาน คือแรงดันไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า และกำลังไฟฟ้า อย่างแรกแรงดันไฟฟ้า (มีหน่วยเป็นโวลต์ V) หมายความถึงแรงแรงขับเคลื่อนทางไฟฟ้า ที่ทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนอิสระตลอดเวลา กระแสไฟฟ้าจะไหลอยู่ตลอดเวลา แรงดันไฟฟ้านี้มาได้จากหลายแหล่ง ยกตัวอย่างเช่นเครื่องกำเนิดไฟฟ้า หรือมาจากแบตเตอรี่ของเราด้วยเหมือนกัน
ต่อไปเป็นเรื่องของกระแสไฟฟ้า (I) ซึ่งจะมีหน่วยเป็นแอมแปร์ (Ampere) หมายถึงการเคลื่อนที่หรือการไหลของอิเล็กตรอน หรือก็คือการถ่ายโอนประจุไฟฟ้าผ่านจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งผ่านวัสดุตัวนำ กระแสไฟฟ้าจะทำการเคลื่อนที่ไปจากจุดที่มีสายไฟฟ้าสูงไปยังจุดที่มีสายไฟฟ้าต่ำ เราจะใช้จุดนี้มาคำนวณเป็นหลัก
สุดท้ายคือเรื่องของกำลังไฟฟ้า (P) ซึ่งมีหน่วยเป็นวัตต์ (Watt) นั่นก็คืออัตราการเปลี่ยนแปลงพลังงานหรืออัตราการทำงาน นั่นก็คือหน่วยวัดกำลังไฟฟ้าของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของเรานั่นเอง ซึ่งอุปกรณ์แต่ละอุปกรณ์นั้นใช้จำนวนวัตต์ไม่เท่ากัน เครื่องใช้ไฟฟ้าที่วัดสูงจะกินไฟมาก
สูตรการคำนวณอย่างง่ายคือ เราต้องทำการคำนวณวัตต์ = กระแสไฟฟ้า x แรงดันไฟฟ้า P = IV ยกตัวอย่างเช่น Power Bank ของเราความจุอยู่ที่ 10,000 mAh (อยู่ที่ประมาณ 10 A) แรงดันไฟฟ้า 5 V แบตสำรองหรือ Power Bank ก้อนนี้จะให้พลังงานอยู่ที่ 10 × 5 เท่ากับ 50 วัตต์ แบบนี้เป็นต้น
การดูที่ค่า Input และ Output
หลักการคำนวณในเรื่องของความจุแบตสำรองนั้น จะแสดงหน่วยเป็น mAh หมายความว่าแบตเตอรี่ก้อนนี้สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้กี่ mA ใน 1 ชั่วโมง ยกตัวอย่างเช่น อุปกรณ์แบตสำรองความจุ 10,000 mAh แสดงว่าแบตเตอรี่ก้อนนี้สามารถจ่ายไฟฟ้าได้ 10,000 mA ต่อการชาร์จหนึ่งรอบเมื่อชาร์จเต็ม สำหรับการคำนวณในจุดนี้ เราต้องรู้จักค่า Input และ Output ของอุปกรณ์แบตสำรอง
ค่า Input นั้น เป็นค่าการนำกระแสไฟฟ้าเข้ามาอย่างละตัวอุปกรณ์ มีหน่วยเป็นแอมป์ จะเป็นค่าที่บอกขนาดไฟที่เข้ามาในตัวอุปกรณ์ต่อการชาร์จ 1 ชั่วโมง ยกตัวอย่างเช่นค่า Input เท่ากับ 5V-1.0A หมายความว่า แรงดันไฟฟ้า 5 โวลต์ จะมีกระแสไฟฟ้าไหลเข้าตัวอุปกรณ์สำรองของเราปริมาณหนึ่งแอมป์ (สูงสุด) ต่อการชาร์จแบตเตอรี่ 1 ชั่วโมงเป็นต้น
ค่า Output เป็นค่าการจ่ายกระแสไฟฟ้าออกจากตัวอุปกรณ์แบตสำรองของเราไปยังอุปกรณ์อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ โดยเริ่มจาก 0.5A ในปัจจุบันมีให้เห็นถึง 3.0A ยกตัวอย่างค่า Output 5V-1.0A แสดงว่าการจ่ายไฟด้วยแรงดันไฟฟ้า 5 โวลต์ กระแสไฟฟ้าจะไหลออกจากตัวแบตสำรองของเรา 1 A (หรือ 10,000 mAh) สู่อุปกรณ์ปลายทางที่เป็นสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตต่อการชาร์จไฟ 1 ชั่วโมงเป็นต้น
และหากกำลังตามหา Power Bank ดี ๆ มีคุณภาพ มีความปลอดภัย สามารถพกพาไปข้างนอกได้เราจึงอยากแนะนำเป็น Power Bank Eloop เป็นยี่ห้อที่มีความน่าเชื่อถือ มีคุณภาพ มีความปลอดภัย และอีกหนึ่งสิ่งที่ต้องมีควบคู่ไปกับ Power Bank นั้นก็คือ Package Power Bank ที่เป็นถุงผ้า เผื่อป้องการจากตกหล่นและเกิดการการเสียหาย