
อย่างที่ทราบกันดีว่าปัจจุบัน Power Bank นับเป็นแก็ดเจ็ตไอทีชิ้นสำคัญชิ้นนึงสำหรับผู้ใช้งานหลายคนที่ต้องมีพกพาติดตัวไว้ใช้งานชาร์จแบตฯให้กับอุปกรณ์เช่น สมาร์ทโฟน ไอแพด แท็บเล็ต หรือแล็ปท็อปพกพาแบบต่าง ๆ ซึ่งตัวเลือก Power Bank ที่มีวางจำหน่ายในตลาดตอนนี้ก็ต้องบอกว่ามีให้ผู้ใช้งานอย่างเรา ๆ ได้เลือกซื้อ เลือกช้อปมากมายหลายช่วงราคา หลายสเปค และหลากหลายแบรนด์ แบรนด์ที่มีชื่อเสียงในเรื่องของ Power Bank ก็เช่น Power Bank Energy, Power Bank Eloop,Power Bank Veger เป็นต้น แต่ที่ดูจะเป็นปัญหาสำหรับผู้ใช้งานหลายคนก็คือเรื่องของเกรด หรือคุณภาพของสินค้าที่มีอยู่หลากหลายเช่น Premium Power Bank,Power Bank ทั่วไป หรือ Power Bank ที่ไม่มีคุณภาพโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับสินค้าจากผู้ผลิตรายย่อย แบรนด์หน้าใหม่ ซึ่งมีจำนวนไม่น้อยเลยที่ผลิตสินค้าไม่ได้คุณภาพออกมาวางจำหน่าย และเน้นทำการตลาดแบบจูงใจผู้ใช้งานให้ซื้อสินค้าด้วยเหตุผลเรื่องความคุ้มค่า แต่กลับได้สินค้าที่มีสเปคไม่ตรงตามคำโฆษณา ในบทความนี้จึงจะมาชวนผู้ใช้งานเช็คลิสต์ 5 Power Bank สเปคหลอก ซึ่งมีความเสี่ยงสูงที่ทำให้เราได้สินค้าที่มีคุณภาพไม่ตรงกับคำโฆษณา หรือฉลากกำกับ
Power Bank ไซส์จิ๋วกับความจุล้น ๆ สเปค Power Bank แบบแรกที่ต้องบอกว่ามีความเสี่ยงที่จะเป็นสเปคหลอกสูงมากทีเดียวก็คือ พาวเวอร์แบงค์ไซส์เล็ก ไซส์มินิต่าง ๆ ที่มาพร้อมตัวเลขความจุแบตเตอรี่ที่สูงๆ เช่น 25,000 mAh, 30,000+ mAh เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากได้ทดลองจับ ถือดูแล้วพบว่ามีน้ำหนักที่เบาก็ยิ่งควรหลีกเลี่ยงซื้อมาใช้งาน เพราะในความเป็นจริงแล้วขนาด น้ำหนัก และปริมาณความจุ หรือตัวเลข mAh นั้นมักแปรผันตามกัน กล่าวคือ ความจุน้อย ตัวกักเก็บแบตเตอรี่ก็มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา ความจุเยอะ ตัวกักเก็บแบตเตอรี่ก็ต้องมีขนาดใหญ่ และน้ำหนักที่เยอะตามไปด้วย
ระบบ Fast Charge ที่มาพร้อมตัวเลขกำลังวัตต์สูง ๆ สเปคหลอกส่วนนึงที่ต้องบอกว่าแบรนด์ผู้ผลิตหน้าใหม่ แบรนด์โนเนมจำนวนมากใช้ตกผู้ใช้งานได้ไม่น้อยเลยก็คือ ตัวเลข fast charge หรือกำลังวัตต์การชาร์จที่ระบุมาสูงเกินความเป็นจริงนั่นเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวเลขในระดับที่สูงตั้งแต่ 100+ วัตต์ขึ้นไป แต่มีราคาจำหน่ายเทียบเท่ากับ Power Bank ทั่ว ๆ ไปที่ไม่ได้มีระบบ fast Charge ซึ่งบ่อยครั้งเป็นเพียงการใช้เทคนิคโฆษณาเกินจริงของผู้ผลิต
Power Bank 2in1 USB Charge & Wireless Charger ในราคาเพียงหลักร้อย สเปคต่อมาที่ผู้ใช้งานอย่างเรา ๆ ควรระวังในการเลือกซื้อให้ดีเช่นกันก็คือ Power Bank แบบ 2in1 ที่มาพร้อมระบบชาร์จสองแบบ คือการชาร์จด้วยสายชาร์จ USB และการชาร์จไร้สาย หรือ Wireless Charger นั่นเอง ซึ่งแม้ว่าระบบชาร์จไร้สายจะถูกพัฒนาขึ้นมาสักพักแล้ว แต่ปัจจุบันต้นทุนการผลิตก็ยังคงอยู่ในระดับที่สูงพอสมควร เมื่อเทียบกับต้นทุนของระบบชาร์จผ่านสาย USB พาวเวอร์แบงค์ที่มาพร้อมระบบชาร์จไร้สายจึงมีราคาจำหน่ายที่สูงกว่ากันพอสมควร ดังนั้นหากเจอสินค้าที่มาพร้อมระบบชาร์จแบบ 2in1 ในราคาเพียงหลักร้อย จึงควรหลีกเลี่ยงการเลือกซื้อ เพราะมีความเสี่ยงสูงทีเดียวที่จะได้ระบบชาร์จไร้สายที่ไม่มีคุณภาพ
ชาร์จด้วยความเร็วสูงสุดได้ทุกพอร์ต อีกหนึ่งสเปคที่ต้องบอกว่ามีโอกาสใช้งานได้จริงน้อย และเข้าข่ายจะเป็นสเปคหลอก ๆ ซะมากกว่าก็คือ การชาร์จได้ด้วยความเร็วสูงสุดทุกพอร์ตนั่นเอง ทั้งนี้ Power Bank ที่มีวางจำหน่ายในปัจจุบันส่วนใหญ่แล้วจะมาพร้อมกับพอร์ตการชาร์จมากกว่า 1 พอร์ตขึ้นไป และกำลังชาร์จ หรือจ่ายไฟก็มักจะเป็นแบบแชร์ เช่น สามารถจ่ายไปยังพอร์ต A ได้ 20 วัตต์ สามารถจ่ายไปยังพอร์ต B ได้ 10 วัตต์ เป็นต้น ดังนั้นหากเจอ Power Bank ที่มาพร้อมสเปคชาร์จได้เร็วสูงสุดทุกพอร์ต ผู้ใช้งานอย่างเรา ๆ ก็ควรชั่งใจพิจารณาและอ่านคำอธิบายให้ถี่ถ้วนก่อนตัดสินใจเลือกซื้อมาใช้งาน
ความจุล้น ๆ ในราคาเบา ๆ อีกหนึ่งสเปคพื้นฐานของ Power Bank ที่ผู้ใช้งานหลายคนสุ่มเสี่ยงจะเจอสเปคหลอกได้เช่นกันก็คือ ปริมาณความจุแบตเตอรี่สูง ๆ ที่วางจำหน่ายในราคาเบา ๆ เช่น ความจุระดับ 25,000 mAh, 30,000 mAh ที่จำหน่ายในราคาเพียง 100-200 บาท เพราะในความเป็นจริงแล้วขนาดพื้นที่ความจุนั้นสัมพันธ์กับต้นทุนการผลิต ยิ่งขนาดความจุใหญ่เท่าไหร่ ต้นทุนฮาร์ดแวร์ก็ยิ่งสูงตามไปเท่านั้น จึงเป็นเรื่องยากที่จะจำหน่าย Power Bank ระดับความจุ 25,000 mAh ขึ้นไปในราคาเพียง 100-200 บาท