ถ้าพูดถึงมาตรฐานฟังก์ชั่นของแก็ดเจ็ตอย่าง Power Bank หรือแบตฯสำรองในช่วงไม่กี่ปีก่อน แน่นอนว่าหลายคนย่อมคุ้นเคยกันดีกับ Power Bank แบบที่แก็ดเจ็ตสี่เหลี่ยม ดีไซน์เรียบๆ มาพร้อมกับพอร์ต USB Type ต่างๆ หรือพอร์ต Lightning ซึ่งหากต้องการใช้งานเราก็ต้องหาสายมาเสียบเชื่อมต่อเข้ากับพอร์ตนั้นๆ และค่อยนำสายอีกด้านเสียบเข้าที่อุปกรณ์ของเราอีกที แต่ทว่าช่วง 1-2 ปีหลังมานี้แบรนด์ผู้ผลิตแก็ดเจ็ตไอทีหลายแบรนด์ได้มีความพยายามนำเสนอฟังก์ชั่นใช้งานที่ช่วยตอบโจทย์ความสะดวกแก่ผู้ใช้งานมากขึ้น จึงมี Power Bank บางรุ่นที่มาพร้อมกับสายชาร์จแต่ละแบบในตัววางจำหน่ายในตลาดให้ได้เห็นกัน โดยบางแบรนด์ เช่น POWER BANK ELOOP บางรุ่นก็อาจมาพร้อมกับสายชาร์จมาตรฐานอย่าง USB Type C บางแบรนด์ บางรุ่นก็อาจมาพร้อมกับสายชาร์จ Type ยอดฮิตครบทั้งสาม Type อย่าง USB-C, USB-B และ Lightning อย่างไรก็ตามแม้ว่า Power Bank แบบที่มาพร้อมกับสายชาร์จ Type ต่างๆในตัว ดูจะมีความสะดวกในกาiใช้งานมากกว่า เพราะผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องพกพาสายชาร์จเพิ่มเติม แต่ในแง่ของการใช้งานจริงแล้ว พาวเวอร์แบงค์แบบมีสายชาร์จในตัวที่มีวางจำหน่ายอยู่ในตลาดเวลานี้ถือว่ายังมีข้อจำกัดในการใช้งานอยู่พอสมควร ซึ่งในบทความนี้เองจะมากล่าวอธิบายให้ได้ทราบกันว่ามีข้อจำกัดใดบ้าง เพื่อที่หลายคนจะได้ใช้ประกอบการตัดสินใจว่าควรจะเลือกใช้ Power Bank แบบฟังก์ชั่นมาตรฐานเดิม หรือ Premium Power Bank แบบมีสายชาร์จในตัวดี
ข้อจำกัดเรื่องความยาวสาย ข้อจำกัดอย่างแรกที่เห็นชัดเจนและถือว่าเป็นอุปสรรคในการใช้งานของหลายคนก็คือ ความยาวของสายนั่นเอง กล่าวคือ Power Bank รุ่นที่มาพร้อมกับสายชาร์จมักให้ความยาวสายมาค่อนข้างจำกัด หรือก็คือมักจะมาพร้อมกับสายขนาดสั้น กะทัดรัด ด้วยเหตุผลในเรื่องของดีไซน์โดยรวมของตัวแก็ดเจ็ด ซึ่งหากให้ความยาวสายมายาวเกินไป ก็จะทำให้ดีไซน์การซ่อนสายเก็บเแนบเข้ากับตัวพาวเวอร์แบงค์นั้นทำได้ยาก จึงอาจทำให้หน้าตาโดยรวมของแก็ดเจ็ตออกมาไม่สวยเรียบอย่างที่ควรเป็น ซึ่งย่อมมีผลต่อการตัดสินใจซื้อของกลุ่มผู้ใช้งาน หรือลูกคาที่พบเห็นนั่นเอง และอีกเหตุผลก็คือต้นทุนที่เพิ่มขึ้นพร้อมความยาวสาย หากแบรนด์ผู้ผลิตเลือกเพิ่มขนาดความยาวของสายชาร์จแต่ละสายมาให้ นั่นก็หมายถึงต้นทุนการผลิตต่อชิ้นที่เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย ขนาดความยาวสายจึงยังถือเป็นข้อจำกัดสำคัญของ Power Bank แบบมีสายในตัวที่อาจสร้างความไม่สะดวกในการใช้งานแก่ผู้ใช้ เช่น ทำให้หาที่ว่างอุปกรณ์ระหว่างชาร์จได้ยาก ไม่สามารถใช้งานอุปกรณ์ขณะเสียบชาร์จไปด้วยได้ เป็นต้น
ข้อจำกัดด้านความเร็วในการส่งกระแสไฟ สายชาร์จ Type ต่างๆ ก็ถือเป็นแก็ดเจ็ตชิ้นนึงที่มีผลต่อประสิทธิภาพการใช้งาน ความเร็วในการชาร์จไฟ ซึ่งแม้ว่าสายชาร์จแต่ละเส้นจากแต่ละแบรนด์จะมีหัว หรือพอร์ตชาร์จเหมือนกัน แต่ด้วยสถาปัตยกรรมการออกแบบและผลิตที่แตกต่างกัน คุณภาพวัสดุที่ต่างกันก็ย่อมทำให้ความเร็วในการรับส่งกระแสไฟต่างกันออกไปด้วย ดังที่เราเห็นได้จากสายชาร์จจากแบรนด์ผู้ผลิตสมาร์ทโฟน แท็บเล็ตเจ้าดังต่างๆ ที่มีวางขายตามช่องทางต่างๆ ก็มักจะมีการแบ่งเกรด หรือระดับความเร็วในการชาร์จไว้อย่างชัดเจนด้วย เช่น สายชาร์จแบบฟาสชาร์จ สายชาร์จแบบธรรมดา เป็นต้น ดังนั้น Power Bank ที่มาพร้อมสายชาร์จในตัวจึงมักมาพร้อมกับข้อจำกัดเรื่องของความเร็วในการชาร์จนี้เช่นกัน เพราะหากทางผู้ผลิตให้สายชาร์จที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีชาร์จเร็ว เช่น ควิกชาร์จ ฟาสชาร์จ ก็ย่อมตามมาด้วยต้นทุนการผลิต Power Bank ตัวนั้นๆ ที่สูงมากขึ้นไปอีก หากต้องการวางจำหน่าย Power Bank ในเรทราคาตลาดทั่วไป ผู้ผลิตจึงมักเลือกเกรดสายในระดับกลางๆ ซึ่งอาจให้ความเร็วเทียบเท่ากับสายชาร์จที่ซื้อแยกจากแบรนด์อุปกรณ์ไอทีเจ้าดังต่างๆ ไม่ได้