ในการใช้งานแก็ดเจ็ตเสริมร่วมกับอุปกรณ์ไอทีต่างๆ แน่นอนว่าหนึ่งในปัญหาที่ผู้ใช้งานพบได้บ่อยก็คืออาการชำรุดเสียหายที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว หรือว่ากันง่ายๆ ก็คือ เร็วเกินกว่าอายุการใช้งานที่ควรจะเป็นนั่นเอง ซึ่งโดยทั่วไปแล้วมักมีสาเหตุมาจากการใช้งานที่ผิดวิธี โดยที่ตัวผู้ใช้งานก็อาจไม่รู้ตัวนั่นเอง เช่นเดียวกับแก็ดเจ็ตอย่าง Power Bank หรือแบตเตอรี่สำรอง ที่มักจะมีอาการเสีย เช่น ชาร์จไฟไม่เข้า เก็บไฟไม่อยู่ ชาร์จไฟได้ช้าลง เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในหลายๆกรณีจนทำให้ผู้ใช้งานหลายคนรู้สึกท้อใจที่จะเลือกใช้งานแก็ดเจ็ตชิ้นนี้ และมองว่าการชาร์จไฟด้วย power bank อาจเป็นวิธีชาร์จที่ไม่ปลอดภัยเท่ากับการชาร์จด้วยอะแดปเตอร์เฉพาะอุปกรณ์นั้นๆ ไปแล้ว แต่ทว่าในความเป็นจริงแล้วหากใช้งานอย่างถูกวิธี พาวเวอร์แบงค์ก็ถือว่าเป็นอุปกรณ์ชาร์จที่มีความปลอดภัยไม่ต่างจากอะแดปเตอร์ชาร์จแบบต่างๆ และมีอายุการใช้งานที่สมเหตุสมผลเช่นกัน หากใช้ Premium Power Bank ก็จะเพิ่มความปลอดภัยไปอีกและ Power Bank ที่ดีและมีคุณภาพเรายกตัวอย่างเช่น Power Bank Eloop ในบทความจึงจะมากล่าวแนะนำถึงพฤติกรรมต้องห้ามต่างๆ ในการใช้งาน power bank ที่เสี่ยงทำให้เกิดอาการชำรุดเสียหายอย่างรวดเร็วทั้งกับตัวแก็ดเจ็ต และอุปกรณ์ที่ต่อชาร์จ
เสียบชาร์จอุปกรณ์พร้อมกันหลายพอร์ต แม้ว่า power bank หลายรุ่นจากหลายแบรนด์ผู้ผลิตจะทำพอร์ตชาร์จใส่มาหลายพอร์ต เพื่อตอบสนองไลฟ์สไตล์การใช้งานของผู้ใช้งานให้สะดวกมากยิ่งขึ้น โดยบางรุ่นให้พอร์ตสำหรับต่อชาร์จ หรือ Output มาให้ถึง 4 พอร์ตเลยทีเดียว แต่ทว่าในการใช้งานจริง จำนวนพอร์ตที่มากนั้นไม่ได้ทำมาเพื่อรองรับการเสียบชาร์จพร้อมกันทุกพอร์ตซะทีเดียว แต่ทำมาเพื่อรองรับการเสียบชาร์จกับอุปกรณ์ที่หลากหลาย ซึ่งมีลักษณะของพอร์ต หรือ Type ที่แตกต่างกันซะมากกว่า เพราะ power bank ถือเป็นอุปกรณ์จ่ายไฟขนาดเล็ก มีปริมาณไฟที่กักเก็บไว้อย่างจำกัด เช่นเดียวกับกำลังการจ่ายไฟ ดังนั้นหากต้องทำการจ่ายไฟให้กับอุปกรณ์หลายตัวพร้อมกัน เช่น 3-4 ตัว ก็ย่อมทำให้ตัวแก็ดเจ็ตต้องทำงานหนัก หรือพยายามเร่งกำลังการจ่ายไฟไปยังอุปกรณ์ต่างๆ มากเกินไป จนตามมาด้วยปัญหาความร้อนที่เกินค่ามาตรฐานและส่งผลให้ระบบการทำงานรวน รวมถึงเกิดความเสียหายที่ตัวฮาร์ดแวร์ของแก็ดเจ็ตได้นั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นอาการบวม อาการเสื่อมของขั้วโลหะที่พอร์ตชาร์จแต่ละพอร์ต
นำ power bank ไปเสียบชาร์จจากแหล่งจ่ายไฟที่มีกำลังจ่ายไฟสูงเกินค่ามาตรฐาน power bank ถือว่าเป็นอุปกรณ์ชาร์จที่เป็นทั้ง Output และ Input กล่าวคือการจะใช้พาวเวอร์แบงค์ชาร์จไฟให้กับอุปกรณ์ใดๆ ได้ เราก็จำเป็นต้องเสียบชาร์จไฟเข้าไปที่ตัว power bank ก่อน โดยการเสียบชาร์จจากเต้าเสียบไฟบ้านผ่านพอร์ต Input ซึ่งโดยทั่วไปแล้วถือว่าไม่ใช่ขั้นตอนที่เป็นปัญหาอะไร เพราะเต้าเสียบไฟภายในบ้าน อาคารทั่วไปถือว่ามีกำลังการจ่ายไฟที่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่แมตช์กับ power bank ยี่ห้อต่างๆได้อยู่แล้ว แต่ในบางกรณีก็เกิดปัญหาพาวเวอร์แบงค์ชำรุด เสียหายอย่างรวดเร็วจากการต่อชาร์จกับแหล่งจ่ายไฟที่มีกำลังการจ่ายไฟสูงเกินค่ามาตรฐาน ดังนั้นอีกหนึ่งพฤติกรรมต้องห้ามที่ผู้ใช้งานควรระมัดระวังก็คือ การนำ power bank ไปเสียบชาร์จกับเต้าเสียบ หรือแหล่งจ่ายไฟที่ไม่แน่ใจว่ามีกำลังจ่ายไฟสูงเกินค่ามาตรฐานหรือไม่ ตัวอย่างเช่น เต้าเสียบภายในโรงงานอุตสาหกรรมที่ทำไว้เสียบปลั๊กเครื่องจักรต่างๆ เต้าเสียบไฟชั่วคราวที่ทำไว้สำหรับต่อกับอุปกรณ์แสดงแสง สี เสียงในการอีเวนท์ต่างๆ เป็นต้น
ใช้สายแปลงพอร์ต อย่างที่ทราบกันดีว่าพอร์ตการชาร์จไฟ หรือแบตเตอรี่ของอุปกรณ์ไอทีต่างๆ อาจมีความแตกต่างกันออกไป ซึ่งนั่นก็ทำให้ power bank แต่ละรุ่น จากแบรนด์ผู้ผลิตต่างๆ ใส่พอร์ตมาแตกต่างกันด้วย และผู้ใช้งานก็จำเป็นต้องเลือกซื้อรุ่นที่มีพอร์ตแบบเดียวกับอุปกรณ์ที่จะนำมาใช้งานร่วมกัน อย่างไรก็ตามในหลายๆ กรณีผู้ใช้งานมักเลือกใช้วิธีซื้อสายแปลงพอร์ตมาต่อพ่วงอีกที เพื่อให้สามารถใช้งานพาวเวอร์แบงค์ร่วมกับอุปกรณ์ต่างๆ ได้หลากหลายมากขึ้น ซึ่งแม้ว่าในทางปฏิบัติจะช่วยทำให้เราต่อชาร์จอุปกรณ์ที่มีพอร์ตต่างกันได้จริง แต่ในแง่ของประสิทธิภาพแล้ว ต้องบอกว่าการต่อพ่วงสายแปลงพอร์ตถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่รบกวนความลื่นไหลในการจ่ายกระแสไฟจากพาวเวอร์แบงค์ไปยังอุปกรณ์นั้นๆ จึงนับเป็นอีกหนึ่งพฤติกรรมที่ควรหลีกเลี่ยงในการใช้งานแก็ดเจ็ตชิ้นนี้ สุดท้ายนี้หากอยากได้ Power Bank ให้ใครสักคนเราขอแนะนำเป็น Gift Set Power Bank
Related posts
Leave Comment