เป็นที่ทราบกันดีว่า Power bank หรือที่ชาร์จไฟสำรองถือเป็นอีกหนึ่งแก็ดเจ็ตสามัญประจำตัวหลายคนในยุคสมัยปัจจุบันที่การใช้งานอุปกรณ์ไอทีแบบพกพาเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อทั้งการเรียน และการทำงาน อย่างไรก็ตามแม้ว่าแก็ดเจ็ตชิ้นนี้จะเป็นตัวช่วยที่ทำให้การใช้งานอุปกรณ์พกพาต่างๆ มีความลื่นไหล ต่อเนื่องมากขึ้น แต่ขณะเดียวกันก็มาพร้อมกับปัญหาจุกจิกกวนใจระหว่างการใช้งานด้วยเช่นกัน เพราะ power bank ก็นับเป็นแก็ดเจ็ตอีกหนึ่งตัวที่ค่อนข้างมีความอ่อนไหวเรื่องของการเก็บรักษา ถนอมอายุการใช้งาน เรียกได้ว่าไม่สามารถยึดเอาตัวเลขอายุการใช้งานตามที่ระบุจากผู้ผลิต เช่น มีอายุการใช้งาน 3 ปี หรือ 5 ปี มาเป็นเกณฑ์ในการใช้งานจริงได้เลย เพราะการเสื่อมสภาพของพาวเวอร์แบงค์แต่ละอันนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยแวดล้อมหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นลักษณะการใช้งานของผู้ใช้งานแต่ละคน การเก็บรักษา อุณหภูมิ หรือกระทั่งความผิดปกติเล็กๆน้อยๆในขั้นตอนของการรับจ่ายกระแสไฟจากเต้าเสียบแต่ละที่ และด้วยอาการเสื่อมที่อาจเกิดขึ้นก่อนครบอายุการใช้งานที่ระบุมาจากผู้ผลิตนี้เองอาจนำมาซึ่งอันตรายได้หากฝืนใช้งานตัว Power bank นั้นต่อไป ในบทความนี้จึงได้นำเอาวิธีสังเกต ตรวจเช็คอาการเสื่อม หรือความเสียหายต่างๆ ของ Power bank ที่เราใช้งานอยู่มาบอกกล่าวแนะนำกัน เพื่อให้หลายคนสามารถตัดสินใจได้ว่าควรที่จะใช้งานต่อไป หรือซื้ออันใหม่มาทดแทนเมื่อเกิดความผิดปกติต่างๆขึ้นระหว่างการใช้งาน
ความสามารถในการกักเก็บไฟของตัวพาวเวอร์แบงค์ ประสิทธิภาพในการกักเก็บไฟ หรือพลังงานถือเป็นจุดนึงที่ผู้ใช้งาน Power bank สามารถสังเกตเห็นได้ง่าย ซึ่งโดยทั่วไปแล้วพาวเวอร์แบงค์แต่ละอันไม่ได้มีความสามารถในการกักเก็บไฟ 100% เต็มอยู่แล้ว กล่าวคือแม้ว่าเราจะชาร์จไฟเข้าตัวพาวเวอร์แบงค์ไว้เต็ม 100% แล้ว แต่เมื่อเรานำ Power bank มาเสียบชาร์จไฟต่อให้กับโทรศัพท์ก็อาจพบว่าปริมาณไฟที่มีอยู่มีเพียง 90% เป็นต้น ซึ่งกรณีแบบนี้ไม่ได้หมายความว่าตัว Power bank มีความเสื่อม หรือเสียหายเสมอไป เพราะตัวพาวเวอร์แบงค์สามารถคลายประจุไฟฟ้าออกจากตัวเองได้ตลอดเวลา ดังนั้นวิธีสังเกตว่าความสามารถในการกักเก็บพลังงานดูเข้าข่ายเป็นความเสื่อมที่ผิดปกติหรือไม่ จึงดูที่ปริมาณพลังงาน และความสมเหตุสมผลของระยะเวลาเป็นหลัก ตัวอย่างเช่น กรณีที่เราทำการชาร์จไฟไว้เต็มแล้ว แต่เมื่อเวลาผ่านไปเพียง 1 วัน ปริมาณไฟ หรือพลังงานที่มีกลับอยู่ที่ 50% เท่านั้น กรณีแบบนี้จะถือว่าเป็นความเสื่อมที่ผิดปกติ สันนิษฐานได้ว่าตัว power bank มีความเสียหายที่ไม่ควรนำมาใช้งานต่อ และอาจก่อให้เกิดอันตรายระหว่างการใช้งานได้
ความสามาถในการชาร์จไฟให้กับอุปกรณ์ นอกเหนือจากความสามารถในการกักเก็บไฟแล้ว อีกจุดนึงที่สังเกตเห็นได้ง่ายเช่นกันก็คือ ความสามารถ หรือประสิทธิภาพในการชาร์จไฟให้กับอุปกรณ์ต่างๆ นั่นเอง ทั้งนี้ในการใช้งาน Power bank เมื่อผ่านไปสักระยะนึงผู้ใช้งานอาจสังเกตเห็นได้ถึงประสิทธิภาพในการชาร์จไฟให้กับอุปกรณ์ต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป ตัวอย่างเช่น ในช่วงแรกๆ เราอาจใช้ power bank ชาร์จไฟให้กับสมาร์ทโฟนได้เต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ ภายในระยะเวลาหนึ่งชั่วโมง แต่เมื่อใช้งานไปเรื่อยๆ เราอาจต้องรอเวลาเกินกว่าหนึ่งชั่วโมง สำหรับการชาร์จไฟสมาร์ทโฟนให้ได้เต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ เป็นต้น ซึ่งกรณีแบบนี้ถือว่าเป็นการเสื่อมสิทธิภาพในการส่งต่อกระแสไฟปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้ เมื่อใช้งานไปนานๆ วิธีสังเกตความผิดปกติจึงเป็นการดูที่ระยะเวลาที่เปลี่ยนแปลงไปว่ามากขึ้นอย่างมีนัยหรือเปล่า เช่น หากโดยปกติการชาร์จไฟให้เต็มเคยใช้เวลา 1 ชั่วโมง แต่ปัจจุบันกลับใช้เวลากว่า 2 ชั่วโมง กรณีนี้ถือว่าอาจไม่ใช่การเสื่อมประสิทธิภาพปกติทั่วไป แต่อาจเกิดความเสียหาย หรือเสื่อมเกินกว่าอายุการใช้งานจริง นอกจากนี้ยังอาจสังเกตความผิดปกติอื่นๆ ของตัว Power bank ร่วมด้วย เช่น ความร้อนเมื่อเสียบชาร์จไฟมากกว่าปกติหรือไม่ ตัว power bank มีอาการบวม หรือมีรูปทรงที่ผิดเพี้ยนไปหรือไม่ ซึ่งหากมีความผิดปกติเหล่านี้ร่วมด้วยก็พอจะเดาได้ว่าพาวเวอร์แบงค์มีอาการเสื่อมเกินกว่าอายุการใช้งานจริงไปแล้ว ควรหยุดใช้งานในทันที หรือหาซื้อ power bank ที่มีประสิทธิภาพ ราคาดี ในปัจจุบันที่ผู้คนนิยมใช้งาน Power Bank Eloop หรือนำมาทำเป็น Premium Power Bank