ปัจจุบัน Power Bank หรือแบตเตอรี่สำรองถือได้ว่าเป็นแก็ดเจ็ตชิ้นที่อยู่ในชีวิตประจำวันของใครหลายคน โดยเฉพาะกับกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ไลฟ์สไตล์ประจำวันมีความสัมพันธ์กับการใช้งานแพลตฟอร์มดิจิทัลต่าง ๆ แทบตลอดทั้งวัน ก็ยิ่งมีความต้องการอุปกรณ์เสริมที่ช่วยให้การชาร์จไฟ หรือแบตเตอรี่ทำได้อย่างสะดวกมากขึ้น เพื่อรองรับกิจกรรมระหว่างวันได้อย่างลื่นไหล อย่างไรก็ตามแม้ว่าโดยทั่วไปแล้ว Power Bank จะถือเป็นแก็ดเจ็ตที่เข้ามาช่วยทำให้การชาร์จไฟให้กับอุปกรณ์ต่าง ๆ สะดวกมากยิ่งขึ้น แต่การใช้ Power Bank ชาร์จไฟให้กับอุปกรณ์ไอทีต่าง ๆ ก็ยังถือว่ามีข้อจำกัดในตัวเองอยู่พอสมควร หรือพูดง่าย ๆ ก็คือไม่ใช่อุปกรณ์ทุกชิ้นจะเหมาะสำหรับการชาร์จไฟด้วยพาวเวอร์แบงค์นั่นเอง เราจึงได้เห็นกันว่าผู้ใช้งานบางส่วนรู้สึกผิดหวังกับการใช้งาน หรือรู้สึกว่าประสิทธิภาพในการชาร์จไฟ ชาร์จแบตฯของแก็ดเจ็ตชิ้นนี้ไม่ดีเท่าที่คาดหวังไว้ แต่หากอยากเพิ่มคุณภาพของ Power Bank คุณควรที่จะมี Package Power Bank ร่วมด้วย ในบทความนี้จึงจะมาแนะนำให้ได้ทราบกันว่าอุปกรณ์แบบไหนบ้างที่เราควรหลีกเลี่ยงการชาร์จไฟด้วย Power Bank และเลือกชาร์จด้วยอะแดปเตอร์ของอุปกรณ์เป็นหลักแทน
อุปกรณ์ที่พอร์ตชาร์จเป็นแบบ USB-B แม้ว่าพอร์ตการชาร์จแบบ USB-B จะถือเป็นพอร์ตชาร์จที่อยู่คู่กับอุปกรณ์แบบพกพา โดยเฉพาะสมาร์ทโฟนแอนดรอยด์มาสักพักใหญ่ ๆ แล้ว และช่วงหลายปีก่อนหน้าพอร์ต USB-B ก็ถูกใส่มากับ Power Bank แบรนด์ต่าง ๆ ในฐานะพอร์ตชาร์จ(Output) หลักมาตลอด แต่หากมองกันที่ประสิทธิภาพการชาร์จ ความเหมาะสมในการใช้งาน ณ ปัจจุบัน อาจจะต้องบอกว่า พอร์ต Type B ดูจะเป็นพอร์ตที่ล้าสมัยไปสักหน่อยแล้ว และการชาร์จด้วยพาวเวอร์แบงค์ผ่านพอร์ต Type B ก็อาจให้ความเร็วและประสิทธิภาพการที่ไม่ตอบโจทย์สักเท่าไหร่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่ของขนาดของแบตเตอรี่ และความต้องการใช้งานแบตเตอรี่ของสมาร์ทโฟนในปัจจุบันที่สูงขึ้นกว่าในช่วงหลายปีก่อนพอสมควร สรุปได้ว่าในระดับความเร็วการชาร์จที่ Power Bank พอร์ต USB-B ทำได้อาจจะตอบโจทย์การใช้งานได้ดีสำหรับเมื่อ 4-5 ปีก่อน แต่ในปัจจุบันถือว่าไม่เพียงพอแล้วนั่นเอง
อุปกรณ์ที่ไม่รองรับ Fast Charge อย่างที่ทราบกันดีว่าอุปสรรคสำคัญอย่างหนึ่งในการใช้งาน Power Bank สำหรับชาร์จไฟให้กับอุปกรณ์ต่าง ๆ ก็คือ ความเร็ว หรือระยะเวลาในการรอชาร์จ เพราะโดยทั่วไปแล้วการชาร์จไฟด้วยอะแดปเตอร์ที่ต่อเข้ากับเต้าเสียบไฟโดยตรงจะให้ความเร็ว ความเสถียรในการจ่ายกระแสไฟได้ดีกว่า ซึ่งปัจจัยหนึ่งที่เข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจ่ายกระแสไฟของ Power Bank ให้ทัดเทียมกับการชาร์จด้วยอะแดปเตอร์ก็คือระบบ Fast Charge, Quick Charge หรือเทคโนโลยีการชาร์จไฟด้วยความเร็วสูงที่ทางแบรนด์ผู้ผลิตแก็ดเจ็ตเจ้าต่างๆ ใส่มากับผลิตภัณฑ์ของตัวเองนั่นเอง อย่างไรตามระบบชาร์จด้วยเร็วสูงแบบต่าง ๆ ดังกล่าวนั้นจะทำงานได้สมบูรณ์ก็ต่อเมื่ออุปกรณ์ที่ต่อชาร์จรองรับเทคโนโลยีเดียวกัน ซึ่งหมายความว่าต่อให้ตัว Power Bank จะมีระบบชาร์จด้วยความเร็วในจำนวนวัตต์สูงแค่ไหน แต่หากอุปกรณ์เช่น สมาร์ทโฟน แท็บเล็ตที่นำมาต่อชาร์จไม่รองรับระบบชาร์จเร็วก็จะไม่สามารถทำความเร็วในการชาร์จได้มากขึ้นอยู่ดี ดังนั้นอุปกรณ์ที่ไม่รองรับระบบ fast charge เช่น 20W, 30W ขึ้นไป จึงอาจจะไม่เหมาะสำหรับการชาร์จด้วย Power Bank เพราะระยะเวลาในการรอชาร์จอาจจะนานเกินไปจนรู้สึกว่าไม่สะดวกต่อการใช้งานเท่าที่ควร
แล็ปท็อปจอ 16″ ขึ้นไป แม้ว่าปัจจุบัน Power Bank จากแบรนด์ต่าง ๆ จะถูกพัฒนาให้ใช้งานชาร์จอุปกรณ์ต่างๆ ได้หลากหลาย และเป็นที่นิยมใช้งานชาร์จอุปกรณ์พกพาขนาดใหญ่มากขึ้น โดยเฉพาะแล็ปท็อปขนาดหน้าจอ 13.3″, 14″ แต่ขนาดของแบตเตอรี่ก็ยังถือเป็นข้อจำกัดสำคัญในการใช้งานชาร์จ กล่าวคือการใช้งาน Power Bank เพื่อต่อชาร์จให้กับอุปกรณ์ขนาดใหญ่นั้นจะทำให้ได้ในปริมาณที่ไม่เต็มรอบการชาร์จ หรือไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้งานระหว่างวัน อีกทั้งตัวพาวเวอร์แบงค์ก็ยังอาจเร่งจ่ายกระแสไฟให้กับอุปกรณ์มากเกินไป จนนำซึ่งปัญหาความร้อนด้วยนั่นเอง อุปกรณ์พกพาขนาดใหญ่ เช่น แล็ปท็อปหน้าจอ 16″, 17″ จึงถือเป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ที่ควรหลีกเลี่ยงการชาร์จไฟด้วยพาวเวอร์แบงค์ หากกำลังตามหา Premium Power Bank ซักอันเราจึงอยากจะแนะนำ Power Bank Eloop มีความปลอดภัยใช้งานง่ายแน่นอน รับรองว่าจะต้องประทับใจ
Related posts
Leave Comment