เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า Power Bank ถือเป็นไอเทมชิ้นสำคัญชิ้นนึงในปัจจุบันที่ผู้ใช้งานอุปกรณ์ไอทีหลายคนจำเป็นต้องมีพกพาติดตัวไว้ เพื่อชาร์จไฟ หรือเติมแบตเตอรี่ให้กับอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ตัวเองใช้งานระหว่างวัน ไม่ว่าจะเป็นสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต แล็ปท็อป หรือกล้องดิจิทัลแบบต่าง ๆ ซึ่งการมีอยู่ของแก็ดเจ็ตชิ้นนี้ช่วยให้ดิจิทัลไลฟ์สไตล์ของผู้ใช้งานหลายคนสะดวก และลื่นไหลมากขึ้น แต่ขณะเดียวกันการใช้งาน Power Bank ทดแทนอะแดปเตอร์ หรือหัวชาร์จปกติของอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ต่อพ่วงกับเต้าเสียบไฟโดยตรงก็ยังมีข้อจำกัดหลายอย่างด้วยกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเรื่องของอาการเสื่อม และประสิทธิภาพการชาร์จที่ลดน้อยถอยลงไปตามอายุการใช้งาน ทำให้ผู้ใช้งานหลายคนพยายามที่จะหาวิธีใช้งานและวิธีเก็บรักษาที่ช่วยถนอมประสิทธิภาพและอายุการใช้งานของ Power Bank มาปรับใช้อยู่เรื่อย ๆ ทว่าหลาย ๆ วิธีก็เป็นเพียงความเข้าใจผิด ๆ ที่ไม่ได้ช่วยถนอมประสิทธิภาพของ Power Bank ได้จริง และอาจได้ผลลัพธ์ที่ตรงกันข้ามด้วยซ้ำ ในบทความนี้จึงได้นำเอา 5 ความเข้าใจผิด ในการใช้งานและเก็บรักษาแก็ดเจ็ตชิ้นนี้มาบอกกล่าวให้ผู้ใช้งานได้ใช้เป็นเช็คลิสต์กัน
เสียบสายชาร์จ usb บ่อย ๆ Power Bank จะเสื่อมเร็ว หนึ่งในความเข้าใจผิดยอดฮิตในการใช้งานพาวเวอร์แบงค์สำหรับชาร์จอุปกรณ์ไอทีต่าง ๆ ก็คือ การนำพาวเวอร์แบงค์มาเสียบชาร์จบ่อยๆ จะทำให้ประสิทธิภาพการชาร์จและการกักเก็บแบตฯเสื่อมไวขึ้นนั่นเอง ซึ่งความเป็นจริงแล้วการนำเอา Power Bank มาเสียบชาร์จอุปกรณ์ไอทีบ่อย ๆ นั้นแทบจะไม่มีผลทำให้เกิดอาการเสื่อมเร็วขึ้นเลย เนื่องจากสถาปัตยกรรมของแก็ดเจ็ตชิ้นนี้ถูกออกแบบมาให้ใช้ถ่ายเทแบตเตอรี่ หรือกระแสไฟไปมาตลอดเวลาอยู่แล้ว ตรงกันข้ามห่างว่างทิ้งไว้เฉยๆ โดยไม่นำมาใช้งานเสียบชาร์จให้อุปกรณ์ใด ๆ เลย จะยิ่งทำให้อาการเสื่อมของประสิทธิภาพการชาร์จ และความสามารถในการกักเก็บแบตเตอรี่เกิดขึ้นเร็วกว่าเดิมด้วย
ต้องชาร์จ Power Bank ให้เต็มความจุแบตทุกครั้ง มาที่ความเข้าใจผิดอีกหนึ่งอย่างที่มีผู้ใช้งานจำนวนไม่น้อยเช่นกันที่พยายามทำตาม ซึ่งก็คือ การชาร์จ Power Bank ให้เต็มความจุทุกครั้งจึงจะสามารถดึงสายที่เชื่อมต่อระหว่างตัวพาวเวอร์แบงค์ กับเต้าเสียบปลั๊กไฟออกได้ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วการเสียบชาร์จพาวเวอร์แบงค์ให้เต็มรอบการชาร์จภายในครั้งเดียว หรือเสียบชาร์จหลายครั้งนั้นไม่ได้มีผลให้ความสามารถในการกักเก็บแบตเตอรี่ของตัว Power Bank เสื่อมลงแต่อย่างใด
สามารถเก็บ Power Bank ไว้ในรถยนต์ได้อย่างปลอดภัย อีกหนึ่งความเข้าใจผิดที่ผู้ใช้งานหลายคนอาจต้องระมัดระวังในการปฏิบัติตามสักหน่อยก็คือ การเก็บ Power Bank ไว้ในรถยนต์นั่นเอง เพราะแน่นอนว่าโดยลักษณะทั่วไปแล้วภายในรถยนต์ถือเป็นพื้นที่ที่สามารถวางเก็บอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ไว้ได้ สามารถป้องกันแดด และฝนได้ดี แต่ทว่าบ่อยครั้งอุณหภูมิภายในตัวรถยนต์จะสูงกว่าอุณหภูมิภายนอกมากจนส่งผลกระทบต่ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ได้ไม่น้อยเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับรถยนต์ที่จอดไว้ในที่กลางแจ้ง ซึ่งไม่มีหลังคาปกคลุม ดังนั้นหากจะวางพาวเวอร์แบงค์เก็บไว้ในรถยนต์ก็ต้องมั่นใจได้ว่าในช่วงเวลานั้น ๆ อุณหภูมิภายในตัวรถจะไม่สูงเกินไป
ไม่เสียบชาร์จเป็นเวลานานเพื่อป้องกันความร้อน ในการใช้งานแก็ดเจ็ต Power Bank นั้นแน่นอนว่าปัจจัยนึงที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการชาร์จ และอายุการใช้งานในระยะยาวก็คือเรื่องของความร้อน แต่ทว่าวิธีที่ผู้ใช้งานหลายคนเลือกใช้ ซึ่งก็คือการหลีกเลี่ยงการเสียบชาร์จพาวเวอร์แบงค์เข้ากับอุปกรณ์ใด ๆ เป็นเวลานาน ๆ เพื่อป้องกันความร้อนก็ถือว่าไม่ใช่วิธีที่ถูกต้องซะทีเดียว เพราะโดยทั่วไปแล้วเมื่อเราเสียบชาร์จอุปกรณ์ใด ๆ เข้ากับพาวเวอร์แบงค์ อุณหภูมิที่ตัวแก็ดเจ็ตจะสูงขึ้นอยู่แล้ว ซึ่งเป็นผลจากการส่งต่อกระแสไฟ และการเสียบชาร์จบ่อย ๆ แทนการชาร์จครั้งเดียวเป็นเวลานาน ก็ไม่ได้มีผลในการช่วยลดอุณหภูมิของตัวแก็ดเจ็ตลงมากนัก โดยวิธีที่ถูกต้องควรเป็นการเลือกวางชาร์จในพื้นที่ที่อุณหภูมิไม่สูง ไม่มีความร้อนภายใน(จากผนัง หรือพื้น)สะสมอยู่เยอะ
แกะ/ถอดบอดี้ภายนอกออกเป็นครั้งคราวเพื่อระบายความร้อน อีกหนึ่งความเข้าใจผิดที่ไม่ควรทำตามอย่างยิ่งก็คือ การแกะ/ถอดบอดี้ภายนอกของตัว Power Bank ออกเพื่อเป็นการระบายความร้อนนั่นเอง ในความเป็นจริงแล้วความร้อนที่อยู่ในตัว Power Bank จะสามารถระบายออกได้อย่างรวดเร็วหลังจากที่ใช้งานชาร์จเสร็จสิ้น หรือนำไปวางเก็บในที่ที่อุณหภูมิต่ำ เช่น ภายในห้องที่เปิดเครื่องปรับอากาศ ทว่าการแกะถอดบอดี้พลาสติกภายนอกออกนั้นจะทำให้เสี่ยงอันตรายต่าง ๆ ในการใช้งานในภายหลังได้ หากไม่สามารถประกอบกลับได้แนบสนิทเหมือนเดิม ทั้งนี้ควรเลือกใช้ Premium Power Bank มีคุณภาพอย่างเช่น Power Bank Eloop, Power Bank Remax เป็นต้น
Related posts
Leave Comment