อย่างที่ทราบกันดีว่าปัจจุบัน Power Bank หรือแบตเตอรี่สำรองนั้นถือเป็นหนึ่งในไอเทมชิ้นสำคัญสำหรับไลฟ์สไตล์ประจำวันของใครหลายคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้ที่มีความจำเป็นต้องใช้งานอุปกรณ์ไอที เช่น แท็บเล็ต สมาร์ทโฟนสำหรับกิจกรรมการเรียน การทำงานตลอดทั้งวัน ซึ่งต้องพกพาไอเทมชิ้นนี้ไว้ชาร์จไฟให้กับอุปกรณ์ที่ใช้งานระหว่างวัน เพราะปริมาณความจุแบตเตอรี่ของแท็บเล็ต สมาร์ทโฟนโดยเฉลี่ยทั่วไปนั้นไม่เพียงพอที่จะรองรับการใช้งานได้ตลอดทั้งวัน ควรเลือกใช้ Premium Power Bank ดี ๆ สักอันไว้ใช้งานหรือแบรนด์ที่มีชื่อเสียงอย่างเช่น Power Bank Eloop อย่างไรก็ตามแม้ว่าโดยทั่วไปแล้ว Power Bank จะดูเป็นแก็ดเจ็ตที่มีวิธีใช้งานที่ไม่ซับซ้อนอะไร สามารถเสียบใช้งานชาร์จแบตเตอรี่ให้กับอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ แต่ขณะเดียวกันหากใช้งานผิดวิธี หรือผิดประเภทก็เสี่ยงก่อให้เกิดผลเสียต่ออุปกรณ์ ร่วมถึงอาจเกิดอันตรายร้ายแรงใด ๆ ขึ้นได้เช่นกัน ในบทความนี้จึงได้นำเอา 5 พฤติกรรมใช้งาน Power Bank ผิดวิธี ที่ควรหลีกเลี่ยง ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงมาแนะนำบอกกล่าวให้ได้ทราบกัน
ต่อสายแปลงพอร์ตหลายทอด อย่างที่ทราบกันว่า Power Bank จากแต่ละยี่ห้อ แต่ละรุ่นอาจมาพร้อมกับพอร์ตเชื่อมต่อ หรือพอร์ตชาร์จที่แตกต่างกัน ทำให้เสียบชาร์จได้เฉพาะบางอุปกรณ์ ตัวอย่างเช่น Power Bank ที่มาพร้อมพอร์ต USB-C อาจสามารถเสียบชาร์จสมาร์ทโฟนของเราได้ แต่ไม่สามารถเสียบชาร์จไอแพดที่เป็นพอร์ต Lightning ได้ เป็นต้น ซึ่งด้วยข้อจำกัดในการใช้งานดังกล่าวนี้เอง ทำให้ผู้ใช้งานหลายคนเลือกใช้วิธีนำสายแปลงพอร์ตมาต่อพ่วงเพิ่มเพื่อให้พาวเวอร์แบงค์ตัวนั้นๆ สามารถใช้งานชาร์จอุปกรณ์ได้หลายตัวมากขึ้น เช่น หาก Power Bank ตัวนั้น ๆ มาพร้อมกับพอร์ต USB-C ก็นำเอาสายแปลงพอร์ตที่หัวด้านนึงเป็น USB-C และหัวอีกด้านนึงเป็น Lighting มาต่อพ่วง ก็อาจทำให้พาวเวอร์แบงค์ตัวนั้นๆ(ที่รองรับการแปลงสัญญาณการส่งกระแสไฟได้) สามารถชาร์จอุปกรณ์ที่เป็นพอร์ต Lightning ได้ด้วย อย่างไรก็ตามการต่อพ่วงสายแปลงพอร์ตดังกล่าวนี้ไม่ควรทำการต่อพ่วงหลายทอด ตัวอย่างเช่น แปลงพอร์ต USB-C เป็น USB-B และแปลง USB-B เป็น Lighting หรือพอร์ตลักษณะอื่นใดอีกต่อนึง ซึ่งการแปลงพอร์ตหลายทอดแบบนี้อาจก่อให้เกิดความผิดปกติในการรับส่งกระแสไฟ จนก่อให้เกิดอันตรายต่าง ๆ ตามมาได้
ใช้ชาร์จอุปกรณ์ที่ไม่ซัพพอร์ท โดยทั่วไปแล้ว Power Bank ที่มีวางจำหน่ายในปัจจุบันมักทำออกมาสำหรับใช้งานชาร์จผลิตภัณฑ์เฉพาะประเภท เช่น สำหรับชาร์จสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต สำหรับชาร์จแล็ปท็อป เป็นต้น ซึ่งหมายความว่าเราจะสามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัยภายใต้การรับรองของผู้ผลิตก็ต่อเมื่อใช้กับอุปกรณ์ที่ซัพพอร์ทดังกล่าวเท่านั้น ดังนั้นจึงไม่ควรนำ Power Bank ไปชาร์จอุปกรณ์ หรือผลิตภัณฑ์ไอทีอื่นใดที่ไม่ได้อยู่ในรายการผลิตภัณฑ์ที่ซัพพอร์ทบนฉลากของพาวเวอร์แบงค์ตัวนั้น ๆ ตัวอย่างเช่น หุ่นยนต์ดูดฝุ่น นาฬิกาดิจิทัล สมาร์ทวอทช์ เป็นต้น แม้ว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวอาจมีพอร์ตเสียบชาร์จแบตเตอรี่ที่เป็นลักษณะเดียวกัน หรือไทป์เดียวกันกับพอร์ตชาร์จของ Power Bank ก็ตาม
วางชาร์จอุปกรณ์ไว้บริเวณที่อากาศร้อน อีกหนึ่งพฤติกรรมการใช้งานที่ค่อนข้างอันตราย แต่ผู้ใช้งานหลายคนมักมองข้ามไปก็คือ การนำพาวเวอร์แบงค์เสียบชาร์จอุปกรณ์ใด ๆ และวางทิ้งไว้ในบริเวณที่อากาศร้อน เช่น บริเวณที่แสงแดดส่องถึง หรือพื้นที่ ๆ ที่มีการคลายประจุความร้อนสูง เช่น หลังตู้เย็น เป็นต้น
ใช้สายชาร์จที่ชำรุด ฉนวนหุ้มหลุดลอก แน่นอนว่าอีกหนึ่งอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้งานควบคู่กันกับตัว Power Bank ก็คือสายชาร์จ USB ไทป์ต่าง ๆ นั่นเอง ซึ่งสายชาร์จนี้ถือเป็นอีกหนึ่งส่วนสำคัญที่ส่งผลต่อความปลอดภัยในการใช้งาน เนื่องจากเป็นเสมือนสะพานที่ส่งต่อกระแสไฟไปยังอุปกรณ์ที่เราทำการต่อชาร์จกับตัวพาวเวอร์แบงค์ โดยควรหลีกเลี่ยงการใช้งานสายชาร์จที่ชำรุด หรือฉนวนหุ้มหลุดลอกเป็นจุด ๆ
เสียบชาร์จกับอุปกรณ์ที่แบตเตอรี่เสื่อม อีกหนึ่งพฤติกรรมที่ควรหลีกเลี่ยงในการใช้งาน Power Bank เพื่อความปลอดภัยและถนอมอายุการใช้งานของพาวเวอร์แบงค์ในตัวก็คือ การเสียบชาร์จกับอุปกรณ์ที่แบตเตอรี่เสื่อมแล้ว โดยเฉพาะแบตเตอรี่ที่มีสภาพผิดปกติ เช่น บวม รูปทรงบิดเบี้ยวไปจากรูปทรงมาตรฐาน เนื่องจากการเสียบชาร์จกับแบตเตอรี่ที่มีอาการเสื่อม หรือผิดปกติดังกล่าวนี้ย่อมทำให้ระบบจ่ายกระแสไฟจากตัว Power Bank มีความเสี่ยงที่จะผิดปกติตามไปด้วย
Related posts
Leave Comment