ถ้าจะนึกถึงแก็ดเจ็ตไอทีสักอันที่เป็นเหมือนแก็ดเจ็ตสามัญประจำตัวใครหลายคนในยุคนี้ แน่นอนว่าคำตอบแรกๆ ที่เรานึกถึงกันก็คือ Power Bank หรืออุปกรณ์ชาร์จไฟแบบพกพา เพราะไลฟ์สไตล์ของคนยุคใหม่สัมพันธ์กับการใช้งานอุปกรณ์อย่างสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต หรือแล็ปท็อปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และแม้ว่าอุปกรณ์รุ่นใหม่จากแบรนด์ต่างๆ จะพยายามพัฒนาความจุของแบตเตอรี่ให้มีมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ก็ยังไม่เพียงพอที่จะรองรับการใช้งานที่ยาวนานตลอดทั้งวันอยู่ดี การเลือกซื้อเลือกหา power Bank ดีๆ สักอันไว้พกพาติดตัวสำหรับชาร์จไฟเติมระหว่าง จึงเป็นทางเลือกตอบโจทย์สำหรับผู้ใช้งาน อย่างไรก็ตามการใช้งานแก็ดเจ็ตพาวเวอร์แบงค์ในช่วงหลายปีหลังมานี้เราอาจคุ้นเคยกับการใช้งานในลักษณะของการเชื่อมต่อตัว Power Bank เข้ากับสมาร์ทโฟน หรืออุปกรณ์ใดๆ ผ่านสายแบบปกติ โดยที่ความเร็วในการชาร์จนั้นมีการพัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆ ตามยุคสมัย ซึ่งผู้ใช้งานหลายคนสามารถสัมผัสได้ถึงความสะดวกที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างชัดเจน โดยในช่วงของการใช้งานแก็ดเจ็ตชิ้นนี้ในตอนที่มีการผลิตออกมาวางจำหน่ายใหม่ๆ เราจะต้องใช้เวลาในการรอชาร์จอุปกรณ์แต่ละครั้งนานหลายชั่วโมง แต่ปัจจุบันจะเห็นว่าพาวเวอร์แบงค์หลายรุ่นสามารถชาร์จไฟให้อุปกรณ์ต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วภายในเวลาไม่กี่นาทีก็อาจเพิ่มปริมาณแบตเตอรี่ได้มากถึง 60% แล้ว และนอกจากเรื่องของความเร็วในการชาร์จ อีกสิ่งนึงที่เริ่มเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งเพิ่มความสะดวกให้กับผู้ใช้งานมากขึ้นไปอีกก็คือ ระบบชาร์จแบบไร้สายนั่นเอง โดยปัจจุบันแก็ดเจ็ตรุ่นใหม่ๆ จากแบรนด์ดังเริ่มมีการใส่ฟังก์ชั่นการชาร์จแบบไร้สายมารองรับอุปกรณ์ไอทีเจนใหม่ที่มีการรองรับการระบบดังกล่าวแล้ว ในบทความนี้จึงจะมากล่าวถึงข้อดีข้อเสีย และข้อควรรู้ต่างๆเกี่ยวกับ Power Bank สำหรับอุปกรณ์ไอทีเจเนอเรชั่นใหม่ ที่รองรับระบบชาร์จไร้สายให้ได้ทราบกัน
Power Bank ระบบชาร์จไร้สายสะดวกต่อการใช้งานมากกว่า ข้อดีที่เห็นได้ชัดเจนของพาวเวอร์แบงค์ระบบชาร์จไร้สายก็คือความสะดวกในการใช้งาน เพราะระบบไร้สายนั้นไม่จำเป็นต้องพกพาสายเชื่อมต่อพอร์ตต่างๆ เรียกว่าตัดอุปกรณ์ทิ้งไปได้นึงอย่างเลย และแน่นอนว่าผู้ใช้งานไม่ต้องมาปวดหัวกับความไม่เป็นระเบียบของสายชาร์จแต่ละเส้น เช่นเดียวกับปัญหาสายชาร์จขาด หรือชำรุดที่ทำให้หลายคนต้องควักกระเป๋าจ่ายซื้ออันใหม่มาทดแทนอยู่เรื่อยๆ โดยการใช้งานระบบชาร์จแบบไร้สายจะเป็นลักษณะของการวางอุปกรณ์สมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ต ลงบนตัว Power Bank บริเวณพื้นที่แท่นชาร์จที่กำหนดไว้ ซึ่งตำแหน่งอาจแตกต่างกันไปตามรุ่น หรือแบรนด์ผู้ผลิต เท่านี้ตัว Power Bank ก็สามารถชาร์จไฟเข้าให้กับอุปกรณ์นั้นๆได้แล้ว
Power Bank ระบบชาร์จไร้สายมีราคาสูง และยังไม่มีมาตรฐานความปลอดภัยที่ชัดเจน สำหรับข้อเสียที่ชัดเจนเช่นกันก็แน่นอนว่าเป็นเรื่องของราคา สำหรับ Power Bank ระบบชาร์จผ่านสายทั่วไปนั้นเราสามารถหาซื้อได้ในเรทราคาตั้งแต่ไม่กี่ร้อยบาทขึ้นไป แต่หากเป็นพาวเวอร์แบงค์ที่มาพร้อมฟังก์ชั่น หรือระบบชาร์จไร้สายเรทราคาเริ่มต้นอยู่ที่ราว 700 บาทขึ้นไป และหากเป็นสินค้าจากแบรนด์ที่มีชื่อเสียงหน่อยเรทราคาเริ่มต้นก็อาจจะอยู่ที่หลักพันบาทเลยทีเดียว และนอกเหนือจากเรื่องของราคาแล้ว อีกสิ่งนึงที่ถือเป็นข้อเสียของแก็ดเจ็ต Power Bank ชาร์จไร้สายเช่นกันก็คือ เรื่องของมาตรฐานความปลอดภัยที่ยังไม่ชัดเจน ซึ่งถือเป็นข้อจำกัดสำหรับแก็ดเจ็ตไอทีเจนใหม่ๆ อยู่แล้ว เพราะแก็ดเจ็ตเจนใหม่ๆ ที่เพิ่งถูกพัฒนา คิดค้นขึ้นมาใช้งานย่อมไม่เคยผ่านการสังเกตข้อผิดพลาด หรือข้อบกพร่องจากผู้ใช้งานจริงในระยะเวลาที่ยาวนาน แม้ว่าจะมีการทดสอบความปลอดภัยตามมาตรฐานการผลิตที่อ้างอิงจากกฎหมายควบคุมอุตสาหกรรมต่างๆ มาในระดับนึงแล้วก็ตาม ต่างจากแก็ดเจ็ตที่ผ่านการผลิต และวางจำหน่ายมาสักระยะนึงแล้ว ซึ่งจะได้รับฟีดแบคจากผู้ใช้งานจริงจนนำมาสู่การอัปเกรดมาตรฐานความปลอดภัยต่างๆ ให้กลายเป็นมาตรฐานที่มีความชัดเจนขึ้นและสอดคล้องกับลักษณะการใช้งานจริงมากขึ้น หรือหากยังไม่แน่ใจที่จะเลือกใช้ Power Bank แบบไร้สาย หรือกำลังมองหา Power Bank ที่ได้มาตรฐาน และ เป็นที่นิยมคงหนีไม่พ้น Power Bank Eloop แต่การเลือกแค่ Power Bank ที่ดีอย่างเดียวคงไม่ได้ เราต้องเลือกสายชาร์จ USB ที่ดีด้วยเช่นกัน